วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

77 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง

        สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมมราชเทวี แต่ยังมิได้พระราชทานพระนาม เพราะสิ้นพระชนม์ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2436 หลังประสูติได้เพียง 4 วันเท่านั้น

76 กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (ร.7)


King Prajadhipok portrait photograph.jpg        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436 (ค.ศ. 1893) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม ลำดับที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) (ค.ศ. 1935) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่ทรงมีพระราชโอรสบุญธรรม คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต

75 พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช


พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (ซ้าย) ทรงฉายกับสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (ขวา) เมื่อทรงพระเยาว์         พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 75 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาเลื่อน นิยะวานนท์ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436

พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิด มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 พ.ศ. 2449 และ เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ. 2450 พระองค์ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถไปด้วยทั้ง 2 ครั้ง เมื่อทรงเจริญถึงวัยที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เช่นเดียวกับพระราชโอรสพระองค์อื่น ก็ทรงให้เว้นเสีย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักพระราชทานให้ประทับอยู่ใกล้ๆ และให้จ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนหนังสือถึงในพระตำหนัก แทนที่จะต้องเสด็จไปศึกษาในต่างประเทศ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ทรงประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 17 พรรษา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2452 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโทมนัสยิ่งนักที่ พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป๋นสาธารณกุศล ที่เชิงสะพานทั้งสองฝั่งมีพระรูปปั้นหินอ่อนของพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระราชทานชื่อสะพานว่า สะพานอุรุพงษ์ จนถึงปัจจุบัน ไม่มีสะพานแห่งนี้แล้ว คงเหลือแต่ชื่อ ถนนอุรุพงษ์ และสี่แยกอุรุพงษ์

74 พระองค์เจ้าเหมวดี


พระองค์เจ้าเหมวดี.jpg        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ประสูติวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2435 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุลผู้เป็นธิดาคนโตของพระยาธรรมสารนิติวิชิตภักดี (พลับ อมาตยกุล) เดิมพระองค์ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้ามัณฑนาภาวดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เมื่อวันที่ 8 มกราคม ร.ศ. 117 ขณะพระชันษาได้ 6 ปี[1] [2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี สิ้นพระชนม์วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ [2] พระชันษา 80 ปี พระองค์ทรงเคยประทับที่วังราชทัต ปัจจุบันคือบริเวณหลังโรงแรมโฟร์ซีซัน ถนนราชดำริ กรุงเทพมหานคร

73 พระองค์เจ้าหญิง

        พระองค์เจ้าหญิง ประสูติในเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์จิ๋ว เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2434 แต่สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาเพียงเดือนเศษเท่านั้น

72 กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเสด็จกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์โปรดงานทางด้านศิลปะ ดนตรี และการละคร โดยทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๓๑ พรรษา

71 พระองค์เจ้าลวาดวรองค์


        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ (30 มีนาคม พ.ศ. 2434 — 5 ธันวาคม พ.ศ. 2436) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเลื่อน (สกุลเดิม นิยะวานนท์) มีพระอนุชาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2436 พระสรีรังคารของพระองค์ถูกบรรจุในอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ ในสุสานหลวง ภายในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

70 พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์

        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ ประสูติวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกษร สนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 พระชันษา 9 ปี
        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้นำทุนทรัพย์สมบัติของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ ไปสร้างโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร(โรงเรียนเบญจมบพิตร ในอดีต )หลังจากพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว

69 กรมหลวงสงขลานครินทร์

Prince Mahidol Adulyadej.jpeg
        สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชสมภพ 1 มกราคม พ.ศ. 2435 - สวรรคต 24 กันยายน พ.ศ. 2472) เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประชาชนโดยทั่วไปมักคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์"หรือ"พระราชบิดา"และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ"และ"พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"

68 พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร

Vapi Busbakara.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร (25 มิถุนายน พ.ศ. 2434 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2525) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ เจ้าจอมมารดาพร้อม ประสูติเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2434 [1] ลำดับพระองค์ที่ 68 เป็นพระขนิษฐาของพระองค์หญิงแฝดพระองค์ที่ 50, 51 และ 59 ในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
 

67 พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี

ประทับนั่งอยู่ที่แถวหน้าสุดพระองค์แรกจากซ้าย
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2461) ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ แรม 13 ค่ำ ปีขาล โทศก จ.ศ. 1252 ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาชุ่ม ไกรฤกษ์ มีพระเชษฐภคีนีร่วมพระมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 6 ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จุลศักราช 1280 ตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2461 พระชันษา 29 ปี

66 พระองค์เจ้าทิพยาลังการ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยาลังการ (ขวา) ฉายกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา พระเชษฐภคินี
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยาลังการ ประสูติวันเสาร์ ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2433 เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาแส มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี คือ
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา

พระองค์ประชวรและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระชนมายุ 42 พรรษา

65 พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา
         พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา ประสูติวันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาคผู้ซึ่งเป็นธิดาในเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) พระองค์และพระเชษฐภคินีทรงสนิทสนมคุ้นเคยเสด็จไปมาหาสู่กับพระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระราชชายามักเสด็จมาเยี่ยมพระองค์และพระเชษฐภคินีเป็นประจำ เสด็จพระองค์อดิศัยสุริยาภา,พระมารดาและพระเชษฐภคินีทรงประทับที่พระบรมมหาราชวังในช่วงแรก จากนั้นทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังดุสิตและทรงประทับที่นั่นตลอดพระชนม์ชีพ ทรงมีพระเชษฐภคินีร่วมเจ้าจอมมารดาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ


พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2506 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระชันษา 73 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

64 พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา

Abbhantripaja.jpg        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา  (31 ตุลาคม พ.ศ. 2432 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477) เป็นพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมมารดาแส โรจนดิศ (เป็นธิดาของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) และขรัวยายบาง) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 8 ค่ำ ปีฉลู เอกศก จ.ศ. 1251 ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2432

63 พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี (อ่านว่า วิ-มน-นาก-นะ-พี-สี) หรืออีกพระนามในหมู่ข้าราชบริพารว่า เสด็จเจ้าน้อย พระราชธิดาพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติกับ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีฉลูเอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2432 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 สิริพระชันษา ๔ ปี

เสด็จเจ้าน้อย ทรงเป็นที่โปรดปรานฯ ใน พระราชบิดา ยิ่งนัก ด้วยทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์น้อยที่ฉลองพระองค์ซิ่นแบบเจ้านายเมืองเหนือตลอดเวลา การสิ้นพระชนม์ของพระราชธิดาพระองค์เดียวในครานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ทรงมีรับสั่งกับ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวโทษพระองค์เอง ว่า "ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ที่ทรงมิได้ตั้งพระธิดาให้เป็น "เจ้าฟ้า" เป็นเหตุให้พระธิดาสิ้นพระชนม์" ส่วน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ผู้เป็นพระราชมารดา คงมิต้องบรรยายความรู้สึกว่าทรงเสียพระทัยเพียงใดออกมาได้ ทรงทำลายภาพพระฉายาทิสลักษ์หมู่ ๓ พระองค์ระหว่าง พระราชสวามี ตัวพระองค์เอง และ พระราชธิดา ทิ้งเสียตั้งแต่บัดนั้น

ปัจจุบัน พระอัฐิของ เสด็จเจ้าน้อย ได้อัญเชิญประดิษฐานอยู่คู่กับพระอัฐิของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระมารดา ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอกวรมหาวิหาร และ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

62 กรมหลวงนครราชสีมา

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
        พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒

61 พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา

พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 แรม 6 ค่ำ ปีฉลู เอกศก จุลศักราช 1251 ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2432 ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาชุ่ม ไกรฤกษ์ เมื่อแรกประสูติทรงพระยศ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ต่อมาในภายหลังทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2501 พระชันษา 67 ปี

60 พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์

        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ ประสูติวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2431 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2435 รวมพระชนมายุ 4 พรรษา มีพระอนุชาคือ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์
        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้นำทุนทรัพย์สมบัติของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ ไปสร้างโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนเบญจมบพิตร ในอดีต) หลังจากพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว

59 พระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม


         พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม ประสูติวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2431 เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาพร้อม สิ้นพระชนม์วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2432 พระชันษา 1 ปี

ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระกนิษฐาคือ

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย (แฝด)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส (แฝด)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร

58 พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์

        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์ ประสูติวันจันทร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 เป็นพระราชโอรส ในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาแส สิ้นพระชนม์วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2431 พระชันษา 3เดือน

57 สมเด็จเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ

Sirabhorn sobhon.jpg
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ ทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 65 ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 และประชวรด้วยพระอาการอักเสบที่พระบัปผาสะ สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 เมื่อทรงมีพระชันษา 11 พรรษา มีพระนามเดิมว่า"สมเด็จเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี"และต่อมารัชกาลที่ 6ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็น มีพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏ"สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี"

56 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง

        สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมมราชินีนาถ สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ

55 พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล

        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์ ประสูติวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2430 เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาวง สิ้นพระชนม์วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2433 พระชันษา 3 ปี

54 กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันเสาร์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 พระองค์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขามาถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ ซึ่งพระราชหัตเลขาเหล่านั้นได้นำมารวมรวบเป็นหนังสือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านในเวลาต่อมา


หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พร้อมกับครอบครัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสิ้นพระชนม์ที่นั่นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2478

53 สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430) (สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิ์มหุดิมงคล อเนกนภดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรกาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 53 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารห้องเขียว ซึ่งในเวลาที่พระองค์ประสูตินั้น ได้มีฝนดาวตกเต็มท้องฟ้าและมาสามารถมองเห็นได้ในพระนคร ดังนั้น ชาววังจึงได้ออกพระนามของพระองค์ว่า “ ทูลกระหม่อมดาวร่วง”

52 กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระนามเดิม พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) พระราชโอรสองค์ที่ 52 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ดำรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้าย 

51 พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส


พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส.jpg        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส ประสูติวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2428 ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมมารดาพร้อม ธิดาในพระยาพิษณุโลกาธิบดี (บัว) ทรงเป็นพระกนิษฐาแฝดของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย สิ้นพระชนม์วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 พระชันษา 1 ปี 3 เดือน[1]

พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย และพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส ทรงเป็นพระราชธิดาแฝดคู่เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คู่ที่สี่และเป็นคู่ล่าสุดในพระบรมราชวงศ์จักรี ก่อนหน้าพระองค์ มีเจ้านายแฝดเพียงสามคู่ที่ทรงมีพระประสูติกาลก่อนหน้า คือ [2]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอแฝดชาย-หญิง ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ และสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ เมื่อ พ.ศ. 2353
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแฝดหญิง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนูจีน และสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนม์ 6-7 วัน เมื่อ พ.ศ. 2354
พระราชวรวงศ์เธอแฝดชาย ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมหลวงปริก เจษฎางกูร และสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2400
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานพระราชธิดาแฝด และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พี่เลี้ยงเชิญตามเสด็จด้วยอยู่เสมอ จนกระทั่งพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาสทรงเริ่มประชวรเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 และสิ้นพระชนม์ในสองวันถัดมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทุกข์โสมนัสจนถึงกับมิได้เสด็จออกราชการตามปกติ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงเป็นแม่กองสร้างพระเมรุเป็นการเฉพาะ ที่สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เรียกว่า "พระเมรุบรรพต" [2] พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2429

พระอัฐิของพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส บรรจุอยู่ ณ วัดราชบพิธ มีแผ่นศิลาจารึกภุชงคประยาตฉันท์ และโคลงสี่สุภาพ พระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร

50 พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ประสูติวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2428 เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาพร้อม ธิดาในพระยาพิษณุโลกาธิบดี (บัว) ทรงเป็นพระเชษฐภคินีแฝดของพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส


พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย และพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส ทรงเป็นพระราชธิดาแฝดคู่เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คู่ที่สี่และเป็นคู่ล่าสุดในพระบรมราชวงศ์จักรี ก่อนหน้าพระองค์ มีเจ้านายแฝดเพียงสามคู่ที่ทรงมีพระประสูติกาลก่อนหน้า คือ [1]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอแฝดชาย-หญิง ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ และสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ เมื่อ พ.ศ. 2353
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแฝดหญิง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนูจีน และสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนม์ 6-7 วัน เมื่อ พ.ศ. 2354
พระราชวรวงศ์เธอแฝดชาย ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมหลวงปริก เจษฎางกูร และสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2400
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานพระราชธิดาแฝด และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พี่เลี้ยงเชิญตามเสด็จด้วยอยู่เสมอ จนกระทั่งพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส พระกนิษฐาแฝดทรงประชวร และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 พระชันษา 1 ปี 3 เดือน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย สิ้นพระชนม์วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2491 พระชันษา 63 ปี มีการจัดพิธีพระราชเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุองค์เดียวกับพระเมรุมาศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

49 กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา พระราชธิดาองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติ ณ วันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามาลินีนภดารา"


เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา"[1] หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี"


ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้านิภานภดล บริจาคทุนทรัพย์สร้างเครื่องใช้สำหรับ "ตึกเยาวมาลย์อุทิศ ปิยราชบพิตร ปดิวรัดา" ในโรงเรียนเทพศิรินทร์

เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้สิ้นพระชนม์ สิริรวมพระชนมายุได้ ๓๙ พรรษา ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา"

48 พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ


พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ ประสูติวันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 เป็นพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค มีพระน้องนางคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ทรงเป็นราชนารีที่โปรดการผจญป่าดงพงไพรและทรงม้าได้ดีเยี่ยม


ปัจจุบัน ตำหนักของพระองค์ได้รื้อไปแล้ว กำลังก่อสร้างเป็นอาคารใหม่ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 พระชันษา 48 ปี

47 พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท


พระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระราชธิดาองค์ที่ 47 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ (ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ตรงกับวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2427


เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิทไว้อุปการะพร้อมทั้งพระอนุชา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

46 กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส พระนามเดิม พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด เมื่อวันอังคาร เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอกฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกับ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ทรงมีพระเชษฐาร่วมเจ้าจอมมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ เสด็จไปศึกษาต่อในยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จากนั้นทรงรับราชการจนได้เป็นมหาอำมาตย์ตรี ตำแหน่งอธิบดีโรงกษาปณ์ และผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗[1] พระองค์ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ตรวจการกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยโอนกิจการของกรมช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ

45 สมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2432) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 เป็นพระราชบุตรองค์ที่ 45

โดยมีพระนามแแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเขจรจำรัส โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกพระนามใหม่ว่า นภาจรจำรัสศรี ด้วยพระนามเดิมมิโปรด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา"

สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ก่อนจะได้เฉลิมพระอิสสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433

44 กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี

ดิลกนพรัฐ.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ทรงเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ - เป็นเจ้านายพระองค์แรกและเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่จบการศึกษาในวิชาระดับปริญญาเอก [1] พระนาม "ดิลกนพรัฐ" หมายถึง "ศรีเมืองเชียงใหม่"

43 กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร


เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์.jpgสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (16 เมษายน พ.ศ. 2427 — 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481) เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 43 ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2427 ทรงเป็นพระขนิษฐาร่วมพระมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม และเป็นเชษฐภคินีของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาของสตรีไทย เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนราชินี การก่อสร้างโรงเรียนราชินีบน และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์) เป็นต้น

พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการเรื้อรัง เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง 2 ครั้ง จนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ทรงมีพระอาการหนักอย่างน่าวิตก พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 23.15 นาฬิกา ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 สิริพระชนมายุ 53 พรรษา

42 กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาทับทิม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2426

พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เสด็จเข้ารับการศึกษาในยุโรป ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปีบริบูรณ์ การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนั้นมีพระราชโอรสตามเสด็จ 4 พระองค์ คือ

  • สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
  • สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
  • พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร และ
  • พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี

41 กรมหลวงลพบุรีราเมศร์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ เคยทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรี ในรัชกาลที่ 7 พระองค์สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 และทรงเป็นต้นราชสกุลยุคล

40 กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ


สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ        สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (3 มีนาคม พ.ศ. 2426-13 มิถุนายน พ.ศ. 2463)[1] ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์"[2] เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย"

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเขาทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ พระชนม์เพียง 37 พรรษา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463

39 พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา


        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา ประสูติวันศุกร์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2424 ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค สิ้นพระชนม์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2425 (พระชันษา 4 เดือน) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา ทรงมีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดาคือ

  • พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส

38 กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) โดยทรงมีพระเชษฐภคินีคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี ทรงเป็นต้นราชสกุล เพ็ญพัฒน์ เป็นผู้พระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือน

        ประสูติ       : 13 กันยายน พ.ศ. 2425
        สวรรคต     : 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452
        พระชนมายุ : 28 พรรษา

เสด็จไปศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะพระชนมายุ 20 พรรษา กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ และทรงสนพระทัยดนตรีไทย ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า "วงพระองค์เพ็ญ"

ราชตระกูล


37 กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๕ - ๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๒) พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีพระนามเดิมอย่างเต็มว่า สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมัยมงคลเขตร บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณ์นาถนรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิ์อรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เสด็จเข้ารับการศึกษาในยุโรป ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ขณะมีพระชันษาได้ ๑๕ ปีบริบูรณ์ การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนั้นมีพระราชโอรสตามเสด็จ ๔ พระองค์ คือ

  • สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
  • พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร และ
  • พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2434
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ประชวรพระโรคบิดตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2442 โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์และคณะแพทย์ ได้ประกอบพระโอสถถวายแต่พระอาการมีแต่ทรงกับทรุด ต่อมาพระอาการกลายเป็นตกพระโลหิต จนกระทั่ง พระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2442 เวลา 5 โมง 25 นาที รวมพระชนมายุได้ 17 ปี 8 วัน

พระศพถูกอัญเชิญไปยังหอธรรมสังเวช ภายในพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานบนแว่นฟ้า 3 ชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่แวดล้อมด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ

36 สมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 เป็นพระราชบุตรองค์ที่ 36 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430 รวมพระชันษา 6 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นและพระราชทานชื่อถนนว่า "ถนนตรีเพชร" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง พระราชโอรส


        เดิมนั้นถนนตรีเพชรเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงจดถนนพาหุรัด ต่อมาใน พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนตรีเพชรต่อจากถนนพาหุรัดถึงถนนจักรเพชร และใน พ.ศ. 2475 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีงานฉลองพระนคร 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าขึ้นในแนวตรงจากถนนตรีเพชร จึงให้ขยายถนนตรีเพชรตั้งแต่ช่วงจดถนนพาหุรัดถึงช่วงจดถนนจักรเพชร

35 กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หรือ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2424 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479) พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย และพระบิดาแห่งการรถไฟไทย

34 พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์

พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ ประสูติวันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2424 ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาเรือน สิ้นพระชนม์วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 (พระชันษา 55 ปี) พระองค์ท่านโปรดประทับในพระบรมมหาราชวัง จะเสด็จไปประทับในสวนสุนันทาก็เป็นครั้งคราว เมื่อมีพระประสงค์จะไปเยี่ยมเยียนพระเชษฐภคินีหรือพระชนิษฐภคินีที่ประทับอยู่ในสวนสุนันทาเท่านั้น

33 กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 2 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี  โดยทรงมีพระเชษฐภคินีคือ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นต้นราชสกุล บริพัตร

        ประสูติ       : 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424
        สวรรคต     : 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
        พระชนมายุ : 63 พรรษา

        ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหาร ตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เสนาธิการทหารบก เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถในงานดนตรี ทรงได้รับการขนานพระนามเป็น "พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม" ทรงพระนิพนธ์เพลงไทย เพลงฝรั่งและเพลงไทยเดิมไว้มากมาย ทรงนิพนธ์เพลง วอทซ์ปลื้มจิต วอทซ์ชุมพล สุดเสนาะ เพลงมหาฤกษ์ เพลงพญาโศก

ราชตระกูล


32 พระองค์เจ้าหญิง

        พระองค์เจ้าหญิง พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสาย  เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2477 ยังไม่ทันได้รับพระราชทานพระนามก็สิ้นพระชนม์ในวันรุ่งขึ้นพระชันษาได้ 1 วัน

31 พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ


พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ01.jpg
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (26 เมษายน พ.ศ. 2424 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) ทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 31 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ เจ้าจอมมารดาจันทร์ ผู้เป็นพระธิดาในพระยาราชสัมภารากร (เทศ) ประสูติวันอังคาร เดือน 5 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1243 ตรงกับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2424


        พระองค์เคยทรงประทับที่วังศศิพงศ์ประไพ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา วังของพระองค์อยู่ใกล้วังวาริชเวสม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระองค์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 วันพฤหัสบดี เดือน 7 แรม 3 ค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1296 ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 พระชันษา 53 พรรษา ด้วยพระอาการพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) อักเสบ

30 สมเด็จเจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา

        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2424 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2424 เมื่อทรงมีพระชันษา 4 เดือน

29 กรมขุนเทพทวารวดี (ร.6)

King Vajiravudh portrait photograph.jpg
        พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

28 กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์         พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 — 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466) ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
         พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2536 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย" [1] และในปี 2544 แก้ไขเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย"

27สมเด็จเจ้าฟ้า

        สมเด็จเจ้าฟ้าชาย พระราชโอรสาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สิ้นพรชนม์ในพระครรภ์พร้อมพระราชมารดา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423

26 พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย


        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย ประสูติ วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2422 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาทับทิม สิ้นพระชนม์วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 พระชันษา 65 ปี มีพระเชษฐาและพระอนุชาคือ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย

25 สมเด็จเจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์

        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2422 สิ้นพระชนม์วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2422 พระชันษา 21 วัน

24 พระองค์เจ้าหญิง

        พระองค์เจ้าหญิง พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2422

23 พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ

แถว3 พระองค์ที่  7
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ หรือ พระองค์เจ้าหญิงเจริญศรีชนมายุ เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 4 ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง ประสูติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2421 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2459

พระองค์เจ้าหญิงเจริญศรีชนมายุ มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี ร่วมเจ้าจอมมารดา ได้แก่

  • พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร
  • พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์
  • พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี
  • พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ

22 กรมพระเทพนารีรัตน์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2421 มีพระนามเต็มว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศราชกุมารี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430 ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่"

21 เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์


สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงอุ้มสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เจ้าฟ้าหญิงฯ ทรงมีพระอนุชาหรือพระขนิษฐา ซึ่งสิ้นพระชนม์พร้อมกันในครรภ์พระมารดา 1 พระองค์ ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

        ประสูติ       : 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421
        สวรรคต     : 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423
        พระชนมายุ : 2 พรรษา

        ที่มาของพระนามนั้นมาจากพระตำหนิที่มีติ่งงอกมาจากพระกรรณด้านขวาของพระราชธิดานั่นเอง




ราชตระกูล


20 สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

        สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกของประเทศไทย แต่หลังจากดำรงตำแหน่งสยามกุฎราชกุมารได้เพียง 8 ปี ก็เสด็จสวรรคต ประชวรด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย

        ประสูติ       : 27 มิถุนายน พ.ศ. 2421
        สวรรคต     : 4 มกราคม พ.ศ. 2437
        พระชนมายุ : 16 พรรษา

        พระองค์ทรงมีพระหฤทัยผูกพันกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี พระภคินีต่างพระมารดาที่มีพระชันษาแก่กว่าพระองค์เพียง 10 เดือน
        ด้วยความผูกพันดังกล่าว สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ ทรงแสดงความในพระทัยออกมาเป็นสักวาที่ทรงนิพนธ์ในโอกาสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีพระราชชนกประทับอยู่ด้วย ซึ่งเจ้านายและชาววังแอบจำต่อกันมา ความว่า

        ได้ยลพักตร์ลักขณาสุดาพี่              จะหาไหนไม่มีเสมอสอง
        เสงี่ยมงามทรามสงวนนวลละออง    ไฉนน้องไร้คู่อยู่เอกา
        ถ้าอยู่ได้ก็จะอยู่เป็นคู่ชื่น                 สำราญรื่นร่วมจิตขนิษฐา
        จะบนบวงสรวงเทพเทวา                ขอให้สมปรารถนาครานี้เอย

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

19 กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์


        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) พระองค์แรกที่มีพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" ทรงมีพระอนุชา 1 พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์นี้เล่าลือกันว่าพระรูปโฉมงดงามยิ่งนัก และทรงสติปัญญาเฉียบคม เป็นที่โปรดของพระราชบิดา ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ประสูติในเศวตฉัตร (เจ้าฟ้าพระองค์แรกในพระองค์เจ้าทักษิณชาฯ สิ้นพระชนม์เสียแต่แรกประสูติ) ซึ่งถ้าหากพระองค์ประสูติเป็นเจ้าฟ้าชาย ก็คงจะได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท

        ประสูติ       : 14 กันยายน พ.ศ. 2420 
        สวรรคต     :  2 มกราคม พ.ศ. 2465
        พระชนมายุ : 46พรรษา


        พระองค์ทรงรับราชการเป็นราชเลขานุการ ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้มีโอกาสตามเสด็จประพาสต้นหลายครั้ง รวมทั้งตามเสด็จประพาสชวา ซึ่งได้โดยเสด็จออกแขกเมืองร่วมกับพระบรมชนกนาถ
        พระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมก่อตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม (สภากาชาดไทย) และยังทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในอีกหลายพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงิน 20,000 บาท ในโอกาสคล้ายวันประสูติเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2460 ในการสร้างตึกสุทธาทิพย์ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย



ราชตระกูล


18 พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี

แถว 3 พระองค์ที่ 5
        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี หรือ พระองค์เจ้าหญิงบีเอตริศภัทรายุวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 3 ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง 
พระนาม บีเอตริศภัทรายุวดี นั้น ทรงตั้งตามพระนามพระราชธิดาพระองค์สุดท้องในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย คือ เจ้าฟ้าหญิงเบียทริซแห่งสหราชอาณาจักร

        ประสูติ       : 5 ธันวาคม พ.ศ. 2419
        สวรรคต     : 30 กันยายน พ.ศ. 2456
        พระชนมายุ : 38 พรรษา

พระองค์เจ้าหญิงภัทรายุวดี มีพระเชษฐา พระขนิษฐา ร่วมเจ้าจอมมารดา ได้แก่
  • พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร
  • พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ 
  • พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี
  • พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ 
พระองค์เจ้าหญิงภัทรายุวดี  แถวที่ 3 พระองค์ที่ 5