วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

77 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง

        สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมมราชเทวี แต่ยังมิได้พระราชทานพระนาม เพราะสิ้นพระชนม์ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2436 หลังประสูติได้เพียง 4 วันเท่านั้น

76 กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (ร.7)


King Prajadhipok portrait photograph.jpg        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436 (ค.ศ. 1893) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม ลำดับที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) (ค.ศ. 1935) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่ทรงมีพระราชโอรสบุญธรรม คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต

75 พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช


พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (ซ้าย) ทรงฉายกับสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (ขวา) เมื่อทรงพระเยาว์         พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 75 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาเลื่อน นิยะวานนท์ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436

พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิด มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 พ.ศ. 2449 และ เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ. 2450 พระองค์ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถไปด้วยทั้ง 2 ครั้ง เมื่อทรงเจริญถึงวัยที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เช่นเดียวกับพระราชโอรสพระองค์อื่น ก็ทรงให้เว้นเสีย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักพระราชทานให้ประทับอยู่ใกล้ๆ และให้จ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนหนังสือถึงในพระตำหนัก แทนที่จะต้องเสด็จไปศึกษาในต่างประเทศ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ทรงประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 17 พรรษา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2452 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโทมนัสยิ่งนักที่ พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป๋นสาธารณกุศล ที่เชิงสะพานทั้งสองฝั่งมีพระรูปปั้นหินอ่อนของพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระราชทานชื่อสะพานว่า สะพานอุรุพงษ์ จนถึงปัจจุบัน ไม่มีสะพานแห่งนี้แล้ว คงเหลือแต่ชื่อ ถนนอุรุพงษ์ และสี่แยกอุรุพงษ์

74 พระองค์เจ้าเหมวดี


พระองค์เจ้าเหมวดี.jpg        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ประสูติวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2435 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุลผู้เป็นธิดาคนโตของพระยาธรรมสารนิติวิชิตภักดี (พลับ อมาตยกุล) เดิมพระองค์ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้ามัณฑนาภาวดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เมื่อวันที่ 8 มกราคม ร.ศ. 117 ขณะพระชันษาได้ 6 ปี[1] [2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี สิ้นพระชนม์วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ [2] พระชันษา 80 ปี พระองค์ทรงเคยประทับที่วังราชทัต ปัจจุบันคือบริเวณหลังโรงแรมโฟร์ซีซัน ถนนราชดำริ กรุงเทพมหานคร

73 พระองค์เจ้าหญิง

        พระองค์เจ้าหญิง ประสูติในเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์จิ๋ว เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2434 แต่สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาเพียงเดือนเศษเท่านั้น

72 กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเสด็จกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์โปรดงานทางด้านศิลปะ ดนตรี และการละคร โดยทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๓๑ พรรษา

71 พระองค์เจ้าลวาดวรองค์


        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ (30 มีนาคม พ.ศ. 2434 — 5 ธันวาคม พ.ศ. 2436) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเลื่อน (สกุลเดิม นิยะวานนท์) มีพระอนุชาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2436 พระสรีรังคารของพระองค์ถูกบรรจุในอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ ในสุสานหลวง ภายในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม